ดาวเคราะห์


ระบบสุริยะจักรวาล หรือ Solar System ของเรานั้นประกอบไปด้วยดาวน้อยใหญ่หลายดวง นอกจากนั้นยังมีพวกก้อนหินขนาดใหญ่หรือดาวเคราะห์น้อยอีกนับไม่ถ้วนซึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ ซึ่งอยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปถึงบริเวณขอบของระบบสุริยะจักวาลและยังมีดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์อีก 166 ดวง วันนี้เราจะมาดูกันว่าดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลของเรามีอยู่กี่ดวง มีชื่อว่าอะไรบ้าง

ในระบบสุริยจักรวาลของเรานั้น มีดาวฤกษ์ซึ่งมีแสงสว่างในตัวเองเพียงแค่ดวงเดียวซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ ในขณะที่มีดาวที่ถูกจัดชั้นเป็นดาวเคราะห์อยู่ทั้งสิ้น 8 ดวง (แต่เดิมมี 9 ดวง เรียกว่ากลุ่มดาวนพเคราะห์ – นพ แปลว่า เก้า แต่ดาวพลูโตถูกลดชั้นจาดดาวเคราะห์เป็นเป็นดาวเคราะห์แคระ) ไม่นับรวมกับดวงจันทร์บริวาร ซึ่งไม่นับรวมเป็นดาวเคราะห์

ดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล 
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ประกอบไปด้วย
1. ดาวพุธ (Mercury)
เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 4,879.4 กิโลเมตร อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดระยะประมาณ 46 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 88 วัน
2. ดาวศุกร์ (Venus)
เป็นดาวลำดับที่ 2 ต่อจากดาวพุธ มีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเราจนได้ชื่อว่าเป็นดาวคู่แฝด คนโบราณเรียกว่าดาวประจำเมืองเพราะจะสังเหตุได้บนท้องฟ้ายามค่ำคืน โดยจะมีแสงสุกสว่างมากที่สุด ดาวศุกรืมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,103.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 225 วัน
3. โลก (Earth)
โลกเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 เป็นดาวเคราะห์ที่เราอยู่อาศัยกันทุกวันนี้ เป็นดาวเคราะห์เดียวที่ค้นพบน้ำและสิ่งมีชีวิต (ในขณะนี้) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,756.28 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 149 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วัน มีดวงจัทร์บริวาร 1 ดวง
4. ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคารมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดาวแดง ซึ่งภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบระบบสุริยะอยู่บนดาวอังคารนี้เองชื่อภูเขาไฟโอลิมปัส ดาวอังคารมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6,804.9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 207 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วัน มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง
5. ดาวพฤหัส (Jupiter)
เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 142,984 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 741 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 4,335 วัน มีดวงจันทร์บริวาร 63 ดวง
6. ดาวเสาร์ (Saturn)
ถ้าไม่นับโลกแล้ว ดาวเสาร์ได้รับการยอมรับว่าสวยที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมีวงแหวนล้อมรอบ (ดาวพฤหัสก็มีวงแหวน แต่มีลักษณะมืด ไม่สวยงาม) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 120,536 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1,349 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 10,758 วัน มีดวงจันทร์บริวาร 60 ดวง
7. ดาวยูเรนัส (Uranus)
เป็นดาวแก๊สขนาดใหญ่ มีวงแหวนล้อมรอบเช่นกัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 51,118 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2,736 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 30,708 วัน มีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวง
8. ดาวเนปจูน (Neptune)
เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในระบบสุริยะ รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์และดาวยูเรนัส มีพื้นผิวสีน้ำเงิน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 49,528 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,460 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 60,225 วัน มีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไททัน
ดาวเคราะห์โลกของเรามีขนาดกลางๆเมื่อเทีบกับดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับดาวอื่นๆในแกแล็กซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way Galaxy) ของเรา โอกาสหน้านายโทรโข่งจะมาไล่เลียงให้ชมกันครับ
ก่อนจบ มันติดค้างคาใจถึงอดีตสมาชิกดาวเคราะห์ที่ถูกลดชั้นไปอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์แคระ ซึ่งก็คือดาวพลูโตนั่นเอง ดาวพลูโตเป็นดาวขนาดเล็กที่วงนอกสุดของระบบสุริยะ แต่มีดวงจันทร์ถึง 5 ดวงด้วยกัน โดยที่ดวงล่าสุดเพิ่งถูกค้นพบเมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมานี่เอง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,436 – 7,376 ล้านกิโลเมตร (วงโคจรเป็นวงรี) ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 90,613 วัน



ที่มา
https://sriwara143.wordpress.com/free-style/รู้ไว้ไม่เสียหลายน๊ะค๊/ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ/


1 ความคิดเห็น: